คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เป็นคณะ 1 ใน 16 คณะที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518 โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์เดิมเปิดการเรียนการสอนที่ วิทยาเขตเทเวศร์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ 48 ตารางวา ณ สถานที่นี้เคยเป็น “วังรพีพัฒน์” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ซึ่งเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ” เมื่อเสด็จในกรมฯ สิ้นพระชนม์วังนี้กลายเป็นโรงเรียนรพีพัฒน์ของเอกชน ตั้งอยู่ได้ ไม่นานกระทรวงอุตสาหกรรม ขอซื้อต่อเพื่อ จัดตั้งเป็นโรงงานผลิตร่ม จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นสถานศึกษา ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

กรมอาชีวศึกษาขอซื้อต่อจากกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษาขึ้น พ.ศ.2496
ได้โอนไปสังกัดกรมการฝึกหัดครูเปิดสอน หลักสูตร ปกศ. อาชีวศึกษา พ.ศ.2499
ได้โอนกลับมาสังกัดกรมอาชีวศึกษา อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู อาชีวศึกษา ประกอบด้วย แผนกช่างวิทยุ และโทรคมนาคม แผนกช่างกลโรงงาน แผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่นและแผนกช่างยนต์ทำการผลิตนักศึกษา หลักสูตร 2 ปี ระดับ ประกาศ นียบัตรฝึกหัดครูอาชีวศึกษา พ.ศ.2504
ได้ขยายหลักสูตร 2 ปี เป็น 3 ปี และได้ยุบแผนกช่างไม้ครุภัณฑคงเหลือ 6 แผนก พ.ศ.2509
บริเวณส่วนที่เป็นวังรพีพัฒน์ได้ถูกรื้อ เป็นหอประชุมหรืออาคารเอนกประสงค์ในปัจจุบัน พ.ศ.2510
วิทยาลัยครูอาชีวศึกษาจึงได้เปลี่ยนเป็นวิทยาเขตเทเวศร์ เป็น 1 ใน 31 วิทยาเขต ที่สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เปิดสอน หลักสูตรระดับ ปวส. และ ปม. และได้จัดตั้งคณะวิศวกรรมเทคโนโลยี ณ สถานที่แห่งนี้ด้วยซึ่งเป็นคณะที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาคุรุศาสตร์ อุตสาหกรรม พ.ศ.2518
วิทยาเขตเทเวศร์ได้งดการผลิตนักศึกษาระดับ ปวส. ไว้เป็นการชั่วคราวทั้งนี้เพื่อเร่งรัดผลิตนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี และเพิ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาคุรุศาสตร์ อุตสาหกรรม พ.ศ.2524

 

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (RAJAMANGALA INSTITUTE OF TECHNOLOGY)

ได้มีนโยบายและจัดทำโครงการ การย้ายคณะต่างๆ ไปยังศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 740 ไร่ พ.ศ.2530
คณะวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีได้ลดการผลิตนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมลง และเพิ่มสาขา วิศวกรรมศาสตร์ตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน พ.ศ.2532
อาคารและสิ่งก่อสร้างของคณะฯ ส่วนใหญ่ได้ก่อสร้างเสร็จ รวม 15 หลัง ณ ศูนย์กลางสถาบันฯ ต.คลองหก อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี พ.ศ.2533
ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ และอาคารพร้อมจัดตั้งห้องปฏิบัติการของภาควิชาต่างๆ และทำการย้ายเครื่องมือ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ จากวิทยาเขตเทเวศร์ ไปติดตั้งที่ศูนย์กลางสถาบันฯ จนกระทั่งสามารถย้ายการเรียนการสอนบางส่วนไปดำเนินการได้เมื่อปีการศึกษา 2536 พ.ศ.2533-2535
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2535 มีมติให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัย เพิ่มปริมาณการผลิตกำลังคนในสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมให้มากขึ้น เพื่อให้ทันต่อความต้องการ และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ สถาบันฯ จึงได้ให้มีการจัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม แยกออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.2535
คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการดังนี้คือ
1. สำนักงานเลขานุการคณะฯ
2. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
3. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
4. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
5. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
6. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ
7. ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
8. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
9. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
10. ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหะการ
11. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร

ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีภาควิชาต่างๆ รวม 10 ภาควิชา มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 43,462 ตารางเมตร มีอาคารเรียน และอาคารปฎิบัติการ 25 หลัง นอกจากนี้คณะวิศกวรรมศาสตร์มีศูนย์ต่างๆ ทั้งหมด 4 แห่ง คือ
1. ศูนย์เทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
2. ศูนย์นวัตกรรมระบบราง
3. ศูนย์วิจัยพลังงาน
4. ศูนย์ปิโตเคมี (ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์)


รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

1. ดร.สุรเชษฐ์ สิทธิชัยเกษม 1 ตุลาคม 2520 – 7 กันยายน 2521
2. รศ.ศรีเครือ โพวาทอง 15 มกราคม 2522 – 15 มกราคม 2530
3. รศ.สมศักดิ์ อิทธิรัตนสุนทร 15 มกราคม 2530 – 15 กรกฎาคม 2532
4. ผศ.ดร.ชาญชัย ศิริวัฒน์ 15 กรกฎาคม 2532 – 15 ตุลาคม 2534
5. รศ.ดร.ศักดิ์ กองสุวรรณ 16 ตุลาคม 2534 – 31 พฤษภาคม 2538
6. ผศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ 1 มิถุนายน 2538 – 2 มกราคม 2540
7. ผศ.เฉลิม มัติโก 2 มกราคม 2540 – 31 ธันวาคม 2543
8. อ.ประทวน กลิ่นจำปา 2 มกราคม 2544 – 8 พฤษภาคม 2544
9. ผศ.เฉลิม มัติโก 9 พฤษภาคม 2544 – 30 ตุลาคม 2545
10. ผศ.ดร.สมชัย หิรัญวโรดม 1 พฤศจิกายน 2545 – 8 กุมภาพันธ์ 2554
11. ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด 9 กุมภาพันธ์ 2554 ถึง … … 2557
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวกร  อ่างทอง   มกราคม 2557 ถึง ปัจจุบัน